ประเทศไทยยังคงล่าช้าหลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งมาได้ 2 เดือนแล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้เชื่อว่าจะเป็นเครื่องหมายให้ไทยกลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตย มีหลายพรรคการเมืองเกิดใหม่และกลุ่มพรรคการเมืองเหล่านี้ต่างแสวงหาผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่กะประมาณว่ามีมากถึง 1 ล้านเสียง

สำหรับในเวทีนานาชาติ การเลือกตั้งครั้งนี้นับว่าเป็นก้าวสำคัญในการกลับคืนสู่รัฐบาลพลเรือน จากที่คณะผู้ยึดอำนาจให้สัญญาให้สัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม สหภาพยุโรปจึงตัดสินใจที่จะกลับไปคบหาสมาคมกันทางการเมือง “ในทุกระดับ” กับประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560

คณะผู้ยึดอำนาจใช้ทุกๆ เครื่องมือทางอำนาจในการสร้างกลอุบายตามใจชอบ ในปี พ.ศ. 2559 ได้ออกแบบรัฐธรรมนูญให้เผด็จการทหารเกาะกำประเทศนี้ไว้อย่างเหนียวแน่น มีการสร้างระบบการเลือกตั้งที่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามกลับเข้ามามีอำนาจ ถึงกับพยายามเอาชนะการเลือกตั้ง โดยได้รับเสียงข้างมากอย่างสมบูรณ์ในรัฐสภา

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้อำนาจ ส.ว. 250 คน ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี รายชื่อ ส.ว. ที่ได้รับเลือกที่ปรากฏสู่สายตาประชาชนเมื่อเร็วๆ นี้ไม่ได้สร้างความประหลาดใจแต่อย่างใด รายชื่อเหล่านี้ได้มาจากคนเก่าคนแก่ของคณะผู้ยึดอำนาจและสมาชิกในกองทัพ

ในวันเลือกตั้งและหลังจากวันเลือกตั้ง เป็นอะไรที่ชัดเจนว่าคณะผู้ยึดอำนาจใช้การซื้อเสียง ใช้บัตรเขย่ง และการไม่เที่ยงตรงอีกมากมายนับไม่ถ้วน มีการร่วมมือกันระหว่าง FORSEA และเพจ CSI LA ซึ่งสามารถรวบรวมและรายงานการทุจริตเป็นพันๆ รายจากผู้ใช้สิทธิทั่วประเทศ

แม้คณะผู้ยึดอำนาจจะพยายามมากมายสักเท่าใด ผลการเลือกตั้งเบื้องต้นแสดงว่าจะมีการร่วมรัฐบาลกันระหว่าง 7 พรรคการเมืองที่สนับสนุนประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทยซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร หนุนหลัง ชนะการเลือกตั้ง ได้รับจำนวน ส.ส. มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง และที่ประหลาดใจไปมากกว่านั้น พรรคอนาคตใหม่ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ได้เพียง 1 ปี สามารถได้เสียงโหวตมากกว่า 6 ล้านเสียง กลายเป็นพรรคการเมืองอันดับสามที่ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด

The original article is published in The Independent, May 22, 2019 under the title “A Military Dictatorship in Thailand is Clinging onto Power – With the Tacit Support of the Western Powers”. Link: https://www.independent.co.uk/voices/thailand-military-dictatorship-junta-palang-pracharat-king-vajiralongkorn-a8925476.html
ด้วยปรากฏผลการเลือกตั้งที่นำความอับอายและความกดดันมาสู่คณะผู้ยึดอำนาจ ผู้นำของพรรคอนาคตใหม่ตกเป็นเป้าในข้อกล่าวหาที่ถูกกุชึ้น ขณะนี้ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้นำพรรคกำลังเผชิญกับการถูกตัดสิทธิ์ในการเป็น ส.ส. หลังจากที่ กกต. กล่าวหาว่าทำผิดกฎหมายเลือกตั้งกรณีถือหุ้นสื่อ

กกต. ใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์ในการทบทวนและรับรองผลการเลือกตั้ง กกต. ล้มเหลวในการเปิดเผยวิธีการคำนวณผลโหวต ซึ่งเป็นการยืนยันว่าพรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามจะไม่ได้รับเสียงข้างมากในสภา ท่ามกลางความสับสนของการประกาศผลโดย กกต. และภัยคุกคามของความท้าทายกฏหมาย พรรคการเมืองหลายพรรคจึงกำลังพยายามจัดตั้งรัฐบาลผสมเพื่อจะทลายเด็ดล็อคนี้

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา การแข่งขันในการจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปอย่างเข้มข้น พรรคพลังประชารัฐอ้างสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลโดยถือเอาเสียงโหวตที่ได้รับคะแนนสูงสุด (popular votes) ทำนองเดียวกับพรรคเพื่อไทยก็พยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลเช่นกัน และเสนอตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้แก่พรรคเล็ก เพื่อจะคลายล็อคข้อติดขัดนี้ อีกครั้งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับช่วงเวลาแห่งความโกลาหลและความไม่แน่นอน

สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้วิกฤติการเลือกตั้งคือสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงพลัง แม้ว่าบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์จะถูกกำหนดเงื่อนไขไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยได้เข้ามาแทรกแซงการเมืองบ่อยครั้ง เพื่อจะเสริมอำนาจของตนให้แข็งแกร่งขึ้น และกษัตริย์ดูเหมือนจะเล่นบทบาทเชิงรุกในทางการเมืองด้วย พระองค์แทรกแซงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเมื่อเร็วๆ นี้พระองค์ก็พยายามมีอิทธพลเหนือผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยแนะนำให้เลือก “คนดี” ซึ่งเป็นสาระที่คนส่วนใหญ่หมายถึงคณะผู้ยึดอำนาจ พระองค์ยังเป็นผู้รับรองรายชื่อ ส.ว. ที่คัดเลือกเองกับมือโดยรัฐบาลทหาร ท่ามกลางการก่นด่าของคนทั่วประเทศ สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนในความรับผิดชอบต่อวิกฤติการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย

คำวิจารณ์อย่างเสียมิได้จากสหรฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเร่งให้คณะผู้ยึดอำนาจแก้ไขความไม่คงเส้นคงวาของการเลือกตั้ง ประชาคมโลกตอบรับผลเหล่านี้ด้วยการปิดหูปิดตาและเงียบเฉยด้วยความพีงพอใจ

ประชาคมโลกควรโต้แย้งผลที่เกิดขึ้นบนเงื่อนไขการจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมอย่างแท้จริง ประณามการจัดการเลือกตั้งที่ประสานความร่วมมือโดยระบอบเผด็จการทหาร และส่งเสริมความสัมพันธ์กับรัฐบาลไทย ในช่วงเวลาแห่งความเดือดร้อนเหล่านี้ซึ่งถูกครอบงำโดยประชานิยม ความเกลียดชัง และความรุนแรง ล้วนไม่มีความสำคัญมากไปกว่าการสนับสนุนประชาธิปไตยในประเทศไทย

By รศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

แปลโดย สรัญญา แก้วประเสริฐ

* Opinions expressed in this article are the author’s own and do not necessarily reflect FORSEA’s editorial stance.

Posted by Pavin Chachavalpongpun

Pavin Chachavalpongpun is associate professor at the Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University. Since the coup of 2014 in Thailand, Pavin was summoned twice for his criticial views of the monarchy and the military. He rejected the summons. As a result, the Thai junta issued a warrant for his arrest and revoked his passport, forcing him to apply for a refugee with Japan.