ประเทศไทยยังคงล่าช้าหลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งมาได้ 2 เดือนแล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้เชื่อว่าจะเป็นเครื่องหมายให้ไทยกลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตย มีหลายพรรคการเมืองเกิดใหม่และกลุ่มพรรคการเมืองเหล่านี้ต่างแสวงหาผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่กะประมาณว่ามีมากถึง 1 ล้านเสียง
สำหรับในเวทีนานาชาติ การเลือกตั้งครั้งนี้นับว่าเป็นก้าวสำคัญในการกลับคืนสู่รัฐบาลพลเรือน จากที่คณะผู้ยึดอำนาจให้สัญญาให้สัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม สหภาพยุโรปจึงตัดสินใจที่จะกลับไปคบหาสมาคมกันทางการเมือง “ในทุกระดับ” กับประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560
คณะผู้ยึดอำนาจใช้ทุกๆ เครื่องมือทางอำนาจในการสร้างกลอุบายตามใจชอบ ในปี พ.ศ. 2559 ได้ออกแบบรัฐธรรมนูญให้เผด็จการทหารเกาะกำประเทศนี้ไว้อย่างเหนียวแน่น มีการสร้างระบบการเลือกตั้งที่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามกลับเข้ามามีอำนาจ ถึงกับพยายามเอาชนะการเลือกตั้ง โดยได้รับเสียงข้างมากอย่างสมบูรณ์ในรัฐสภา
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้อำนาจ ส.ว. 250 คน ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี รายชื่อ ส.ว. ที่ได้รับเลือกที่ปรากฏสู่สายตาประชาชนเมื่อเร็วๆ นี้ไม่ได้สร้างความประหลาดใจแต่อย่างใด รายชื่อเหล่านี้ได้มาจากคนเก่าคนแก่ของคณะผู้ยึดอำนาจและสมาชิกในกองทัพ
ในวันเลือกตั้งและหลังจากวันเลือกตั้ง เป็นอะไรที่ชัดเจนว่าคณะผู้ยึดอำนาจใช้การซื้อเสียง ใช้บัตรเขย่ง และการไม่เที่ยงตรงอีกมากมายนับไม่ถ้วน มีการร่วมมือกันระหว่าง FORSEA และเพจ CSI LA ซึ่งสามารถรวบรวมและรายงานการทุจริตเป็นพันๆ รายจากผู้ใช้สิทธิทั่วประเทศ
แม้คณะผู้ยึดอำนาจจะพยายามมากมายสักเท่าใด ผลการเลือกตั้งเบื้องต้นแสดงว่าจะมีการร่วมรัฐบาลกันระหว่าง 7 พรรคการเมืองที่สนับสนุนประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทยซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร หนุนหลัง ชนะการเลือกตั้ง ได้รับจำนวน ส.ส. มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง และที่ประหลาดใจไปมากกว่านั้น พรรคอนาคตใหม่ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ได้เพียง 1 ปี สามารถได้เสียงโหวตมากกว่า 6 ล้านเสียง กลายเป็นพรรคการเมืองอันดับสามที่ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด
กกต. ใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์ในการทบทวนและรับรองผลการเลือกตั้ง กกต. ล้มเหลวในการเปิดเผยวิธีการคำนวณผลโหวต ซึ่งเป็นการยืนยันว่าพรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามจะไม่ได้รับเสียงข้างมากในสภา ท่ามกลางความสับสนของการประกาศผลโดย กกต. และภัยคุกคามของความท้าทายกฏหมาย พรรคการเมืองหลายพรรคจึงกำลังพยายามจัดตั้งรัฐบาลผสมเพื่อจะทลายเด็ดล็อคนี้
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา การแข่งขันในการจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปอย่างเข้มข้น พรรคพลังประชารัฐอ้างสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลโดยถือเอาเสียงโหวตที่ได้รับคะแนนสูงสุด (popular votes) ทำนองเดียวกับพรรคเพื่อไทยก็พยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลเช่นกัน และเสนอตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้แก่พรรคเล็ก เพื่อจะคลายล็อคข้อติดขัดนี้ อีกครั้งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับช่วงเวลาแห่งความโกลาหลและความไม่แน่นอน
สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้วิกฤติการเลือกตั้งคือสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงพลัง แม้ว่าบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์จะถูกกำหนดเงื่อนไขไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยได้เข้ามาแทรกแซงการเมืองบ่อยครั้ง เพื่อจะเสริมอำนาจของตนให้แข็งแกร่งขึ้น และกษัตริย์ดูเหมือนจะเล่นบทบาทเชิงรุกในทางการเมืองด้วย พระองค์แทรกแซงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเมื่อเร็วๆ นี้พระองค์ก็พยายามมีอิทธพลเหนือผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยแนะนำให้เลือก “คนดี” ซึ่งเป็นสาระที่คนส่วนใหญ่หมายถึงคณะผู้ยึดอำนาจ พระองค์ยังเป็นผู้รับรองรายชื่อ ส.ว. ที่คัดเลือกเองกับมือโดยรัฐบาลทหาร ท่ามกลางการก่นด่าของคนทั่วประเทศ สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนในความรับผิดชอบต่อวิกฤติการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย
คำวิจารณ์อย่างเสียมิได้จากสหรฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเร่งให้คณะผู้ยึดอำนาจแก้ไขความไม่คงเส้นคงวาของการเลือกตั้ง ประชาคมโลกตอบรับผลเหล่านี้ด้วยการปิดหูปิดตาและเงียบเฉยด้วยความพีงพอใจ
ประชาคมโลกควรโต้แย้งผลที่เกิดขึ้นบนเงื่อนไขการจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมอย่างแท้จริง ประณามการจัดการเลือกตั้งที่ประสานความร่วมมือโดยระบอบเผด็จการทหาร และส่งเสริมความสัมพันธ์กับรัฐบาลไทย ในช่วงเวลาแห่งความเดือดร้อนเหล่านี้ซึ่งถูกครอบงำโดยประชานิยม ความเกลียดชัง และความรุนแรง ล้วนไม่มีความสำคัญมากไปกว่าการสนับสนุนประชาธิปไตยในประเทศไทย
By รศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
แปลโดย สรัญญา แก้วประเสริฐ
* Opinions expressed in this article are the author’s own and do not necessarily reflect FORSEA’s editorial stance.